ใบความรู้ เรื่อง การเขียนโปรแกรมแสดงผลข้อมูล

แสดงผลออกทางหน้าจอ

การทำงานพื้นฐานที่สุดหรือเรียกได้ว่าเป็นส่วนหนึ่งในการทำงานของทุกโปรแกรมคือ  การแสดงผลข้อมูลออกทางจอภาพ  โดยในภาษา C  นั้น  การแสดงผลข้อมูลออกทางจอสามารถทำได้ดังนี้

คำสั่ง printf

คำสั่ง printf  ถือได้ว่าเป็นคำสั่งพื้นฐานที่สุดในการแสดงผลข้อมูลทุกชนิดออกทางหน้าจอไม่ว่าจะเป็นจำนวนเต็ม int ทศนิยม float ข้อความ string  หรืออักขระ  นอกจากนี้คำสั่งยังมีความยืดหยุ่นสูง  โดยเราสามารถกำหนดหรือจัดรูปแบบการแสดงผลให้มีระเบียบหรือเหมาะสมตามความต้องการได้อีกด้วย

รูปแบบคำสั่ง prinft

printf (“format”,variable);

format

     ข้อมูลที่ต้องการแสดงผลออกทางหน้าจอ  โดยข้อมูลนี้ต้องเขียนไว้ในเครื่องหมาย ”  ”  ข้อมูลที่สามารถแสดงผลได้มีอยู่ 2 ประเภท คือ  ข้อความธรรมดา  และค่าที่เก็บไว้ในตัวแปร  ซึ่งถ้าเป็นค่าที่เก็บไว้ในตัวแปรต้องใส่รหัสควบคุมรูปแบบให้ตรงกับชนิดของข้อมูลที่เก็บไว้ในตัวแปรนั้นด้วย

variable

     ตัวแปรหรือนิพจน์ที่ต้องการนำค่าไปแสดงผลให้ตรงกับรหัสควบคุมรูปแบบที่กำหนดไว้

ตัวอย่าง การใช้คำสั่ง printf  แสดงผลข้อความธรรมดาออกทางหน้าจอ ดังนี้

printf(“Hello Program C”);       แสดงข้อความ Hello Program C ออกทางขอภาพ

printf(“Sa school”);                แสดงข้อความ Sa school ออกทางจอภาพ

printf(“Nan Thailand”); แสดงข้อความ Nan Thailand  ออกทางจอภาพ

 

รหัสควบคุมรูปแบบการแสดงผลค่าของตัวแปรออกทางหน้าจอ  แสดงได้ดังนี้

รหัสควบคุมรูปแบบ

การนำไปใช้งาน

%d

แสดงผลค่าของตัวแปรชนิดจำนวนเต็ม

%u

แสดงผลค่าของตัวแปรชนิดจำนวนเต็มบวก

%f

แสดงผลค่าของตัวแปรชนิดจำนวนทศนิยม

%c

แสดงผลอักขระ 1 ตัว

%s

แสดงผลข้อความ หรืออักขระมากกว่า 1 ตัว

 

ตัวอย่าการเขียนโปรแกรมแสดงข้อความ

#include <stdio.h>
#include <conio.h>
void main()
{
clrscr();
prinft(‘Sa School\n”);
printf(“Program C\n”);
getch();
}

ผลลัพธ์โปรแกรม

Sa  School
Program C

 

การแสดงผลให้เป็นระเบียบด้วยอักขระควบคุมการแสดงผล

นอกจากนี้เรายังสามารถจัดรูปแบบการแสดงผลให้ดูเป็นระเบียบมากขึ้น  อย่างเช่นขึ้นบรรทัดใหม่  หลังแสดงข้อความ  หรือเว้นระยะแท็บระหว่างข้อความ  โดยใช้อักขระควบคุมการแสดงผลร่วมกับคำสั่ง printf

อักขระควบคุมการแสดงผล

ความหมาย

\n

ขึ้นบรรทัดใหม่

\t

เว้นช่องว่างเป็นระยะ 1 แท็บ (6 ตัวอักษร)

\r

กำหนดให้เคอร์เซอร์ไปอยู่ต้นบรรทัด

\f

เว้นช่องว่างเป็นระยะ 1 หน้าจอ

\b

ลบอักขระสุดท้ายออก 1 ตัว

การนำอักขระควบคุมการแสดงผลมาใช้  เราต้องเขียนอักขระควบคุมการแสดงผลไว้ภายในเครื่องหมาย ”  ”  ดังตัวอย่าง

printf(“Hello … \n”); แสดงข้อความ Hello …  แล้วขึ้นบรรทัดใหม่
printf(“Hello…\nNan\n”); แสดงข้อความ Hello …แล้วขึ้นบรรทัดใหม่พร้อมกับแสดงข้อความNan จากนั้นขึ้นบรรทัดใหม่อีกครั้ง
printf(“Num1 = %d\tNum2 = %f\n”,x,z); แสดงข้อความ Num1 = 45  ตามด้วยการเว้นช่องว่าง 1 แท็บแล้วต่อด้วยข้อความ Num2 = 20.153

ใบงานที่  เรื่อง การเขียนโปรแกรมแสดงผลข้อมูล

 

คำชี้แจง  ให้นักเรียนตอบคำถามดังต่อไปนี้ลงในสมุดของนักเรียน

  1. คำสั่ง printf  คือคำสั่งอะไร
  2. รูปแบบของคำสั่ง printf มีลักษณะอย่างไร
  3. อธิบายความหมายของ Variable
  4. เขียนรหัสควบคุมรูปแบบการแสดงผลค่าของตัวแปรออกทางหน้าจอและการนำไปใช้งาน
  5. เขียนคำสั่งแสดงผลข้อความว่า Computer และขึ้นบรรทัดใหม่แล้วให้แสดงคำว่า Sa School

ใบงานปฏิบัติ เรื่อง การเขียนโปรแกรมแสดงผลข้อมูล

 คำชี้แจง

ให้เขียนโปรแกรมคำสั่งแสดงผลข้อความว่า Sa School และขึ้นบรรทัดใหม่แล้วให้แสดงคำว่า Wiangsa Nan

ใส่ความเห็น