ใบความรู้ที่ 2 ระดับของเทคโนโลยี

 

ระดับและสาขาของเทคโนโลยี

  1. 1.       เทคโนโลยีระดับพื้นบ้าน

ส่วนมากเป็นเทคโนโลยีที่มีอยู่แต่เดิมตั้งแต่ยุคโบราณเกิดขึ้นจากความจำเป็นในการยังชีพของชาวชนบทในท้องถิ่นมีการประยุกต์ใช้วัสดุอุปกรณ์ที่ได้จากธรรมชาติโดยตรงตลอดจนใช้แรงงานในท้องถิ่น มีการสืบทอดเทคโนโลยีต่อ ๆ กันมาพร้อมกับขนบธรรมเนียม ประเพณีและวัฒนธรรมท้องถิ่น ดังนั้นอาจเรียกเทคโนโลยีระดับต่ำว่าเป็นเทคโนโลยีท้องถิ่น (Traditional  technology ) อันจัดเป็นเทคโนโลยีอย่างง่ายๆ  ซึ่งผู้ที่มีความสามารถในระดับต่ำจำเป็นต้องมีความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับเทคโนโลยีนั้น ๆ อย่างถูกต้อง  เนื่องจากมีความจำเป็นต้องใช้เพื่อการดำรงชีวิต แต่ก็ไม่จำเป็นต้องมีเข้าใจอย่างลึกซึ้งจนถึงระดับแก้ไข ดัดแปลง  เพียงแต่รู้หลักและวิธีการใช้เทคโนโลยีเหล่านั้นก็เพียงพอแล้ว ตัวอย่างเช่น ยาสมุนไพรพื้นบ้าน  ครกตำข้าว ลอบดักปลา และกระต่ายขูดมะพร้าว เป็นต้น

  1. 2.       เทคโนโลยีระดับกลาง

เกิดจากการปรับปรุงพัฒนาเทคโนโลยีระดับต่ำหรือเทคโนโลยีพื้นบ้านมาเพื่อให้ได้รับประโยชน์จากเทคโนโลยีนั้นมากยิ่งขึ้น ผู้พัฒนาเทคโนโลยีเหล่านี้จะเป็นผู้มีความรู้ลึกซื้ง เข้าใจระบบการทำงานและกลไลต่าง ๆ  ตลอดจนสามารถแก้ไขซ่อมแซมอุปกรณ์ เครื่องมือให้กลับสภาพดีดังเดิมได้ นอกจากนี้จะต้องมีประสบการณ์เข้าใจความเป็นไปของธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมตามสมควร  นักพัฒนามีบทบาทอย่างมากในการใช้เทคโนโลยีระดับกลางในการเสริมความรู้และประสบการณ์ให้กับผู้คนในท้องถิ่น ตัวอย่างเช่น การผลิตอาหารโดยใช้ผลิตผลเหลือใช้จากการเกษตร การปลูกพืชหมุนเวียนเพื่อแก้ปัญหาดินเสื่อม การถนอมอาหาร การสร้างอ่างเก็บน้ำ และเครื่องขูดมะพร้าวเป็นต้น

  1. 3.       เทคโนโลยีระดับสูง

เป็นเทคโนโลยีที่ได้จากประสบการณ์อันยาวนาน มีความสลับซับซ้อน เพราะเป็นความสามารถในการปรับปรุงแก้ไข ซึ่งนับเป็นความสามารถในระดับสูงกว่าการแก้ปัญหาหรือแก้ข้อขัดข้องของเทคโนโลยีต้องรู้จักดัดแปลงเทคโนโลยีเดิมให้มีคุณภาพดีขึ้นจนก่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด เทคโนโลยีระดับสูงนั้นอาจจำเป็นต้องอาศัยการศึกษาเรียนรู้ในสถาบันการศึกษาชั้นสูงมีการวิจัยทดลองอย่างสม่ำเสมอและมีการประดิษฐ์คิดค้นเครื่องมือ เครื่องจักรกลต่าง ๆ ที่มีประสิทธิภาพสูง ตัวอย่างเช่น การผลิตอาหารกระป๋อง การคัดเลือกพันธุ์สัตว์โดยใช้เทคโนโลยีชีวภาพ  กะทิสำเร็จรูป ยู เอช ที และกะทิผง เป็นต้น

 

สาขาของเทคโนโลยี

          เทคโนโลยีเป็นวิทยาศาสตร์ประยุกต์ที่ผู้ผลิตเทคโนโลยีมีจุดมุ่งหมายจะแก้ปัญหาหรือสนองความต้องการของมนุษย์ในรูปแบบต่างๆ จึงเกิดเป็นเทคโนโลยีขึ้นหลายสาขา เช่น

–     เทคโนโลยีชีวภาพ (Biotechnology)  มีการนำเข้าเทคโนโลยีชีวภาพจากต่างประเทศมากขึ้นทุกปี
โดยเฉพาะอย่างยิ่งทางด้านการแพทย์ เช่น การผลิตวัคซีน  ป้องกันโรคต่าง ๆ การผลิตยาบางชนิด เป็นต้น

–     เทคโนโลยีผลิตภัณฑ์และการผลิต (Production and Process Technology)

–     เทคโนโลยีขนส่ง (Transportation technology)  ได้แก่ การเดินรถ เช่น รถยนต์ รถไฟฟ้า การเดินเรือ เครื่องบิน  การขนส่งระบบคอนเทนเนอร์ เป็นต้น

–     เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์(Electronics  Technology) ได้แก่ อิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์ การสื่อสา รด้วยระบบเลเซอร์ หุ่นยนต์ ซูเปอร์คอนดักเตอร์ เป็นต้น

–     เทคโนโลยีสิ่งทอและเสื้อผ้า (Textile Garment technology)

–     เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (Information and Communication technology)

–     เทคโนโลยีการเกษตร (Agricultural technology)  เช่นความรู้ในการเพาะปลูก การขยายพันธุ์พืช การใ ส่ปุ๋ย การกำจัดศัตรูพืช รวมถึงการเลี้ยงสัตว์และขยายพันธุ์ เป็นต้น เทคโนโลยีการเกษตรจะเชื่อมโยงสัมพันธ์ กับเทคโนโลยีอื่น ๆ เช่นเทคโนโลยีอาหาร ได้แก่การแปรรูปพืชและสัตว์ไปเป็นอาหาร ตั้งแต่อาหารสด อาหารแห้ง และอาหารหมักดอง รวมทั้งเทคโนโลยีอุตสาหกรรมอาหาร ได้แก่ การผลิตอาหารกระป๋องหรืออาหารสำเร็จรูปต่าง ๆ

ลักษณะของเทคโนโลยีที่ดี

ประเทศที่มีความเจริญก้าวหน้าทางด้านเทคโนโลยี มักจะประสบความสาเร็จด้านการศึกษา เศรษฐกิจ การเมืองและการปกครอง เนื่องจากมีทรัพยากรเทคโนโลยีที่เป็นปัจจัยเอื้อมากกว่าปัจจัยที่เป็นตัวขัดขวางที่จะส่งผลต่อเทคโนโลยี เทคโนโลยีที่ดีมีลักษณะดังนี้

1.ต้องเป็นส่วนหนึ่งของบุคคลหรือสังคมนั้น ๆ

2.ต้องไม่ทาลายหรือก่อให้เกิดมลภาวะ

3.ต้องทาให้คุณภาพชีวิตดีขึ้น

4.ต้องสนับสนุนหรือต่อยอดการผลิตเทคโนโลยีใหม่ ๆ

 

การเลือกใช้เทคโนโลยี

          พื้นฐานของเทคโนโลยีแต่ละท้องถิ่นหรือประเทศ สร้างและพัฒนาขึ้นด้วยความรู้และทักษะของตนเพื่อการดำรงชีวิตซึ่งมีทั้งสร้างสรรค์และขัดแย้ง ดังนั้น การเลือกใช้เทคโนโลยีจึงต้องคำนึงถึงการตอบสนองความต้องการ ความปลอดภัย ความเหมาะสมกับสภาพท้องถิ่น ผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม และประเมินอย่างมีวิจารญาณโดยใช้เกณฑ์ทางสังคมมาประกอบด้วย

การบริโภคผลิตภัณฑ์จากเทคโนโลยีเพิ่มขึ้นตามจำนวนประชากร การผลิตสิ่งของเครื่องใช้ต่าง ๆ ด้วยเทคโนโลยีของท้องถิ่นไม่อาจตอบสนองความต้องการได้อย่างเพียงพอ จำเป็นต้องแสวงหาจากแหล่งอื่นหรือต่างประเทศเพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ดังกล่าว อย่างไรก็ดี เทคโนโลยีแห่งหนึ่งอาจไม่เหมาะสมกับอีกแห่งก็ได้ จึงต้องเลือกใช้อย่างระมัดระวัง

เทคโนโลยีมีผลกระทบโดยตรงต่อการพัฒนาชีวิตและความเป็นอยู่ของมนุษย์ เช่น เทคโนโลยีการแพทย์ทำให้มนุษย์สามารถสร้างเด็กในหลอดแก้ว หรือการโคลนนิ่ง (Cloning) ซึ่งส่งผลกระทบต่อศีลธรรมและสังคมของมนุษย์ เป็นต้น

ดังนั้นจึงควรพิจารณาเลือกใช้เทคโนโลยีที่เหมาะสมกับสภาพท้องถิ่นและประเมินเทคโนโลยีอย่างมีวิจารณญาณ โดยใช้เกณฑ์ทางสังคมมาประกอบด้วย

           นอกจากนี้ การสร้างเทคโนโลยียังต้องคำนึงถึงความปลอดภัยของผู้ใช้ด้วย โดยนำมาเป็นเกณฑ์ในการออกแบบสิ่งประดิษฐ์ต่าง ๆและ การสร้างชิ้นงานก็ต้องอาศัยทักษะพื้นฐานต่าง ๆ เช่น งานไม้ งานโลหะ กาตัด ซึ่งต้องกระทำอย่างระมัดระวัง

       
       

           ความสามารถในการประเมินผลเทคโนโลยีจะช่วยให้ทราบข้อบกพร่อง และปรับปรุงพัฒนาเพื่อป้องกันข้อผิดพลาดในการใช้ เช่น ไม่เกิดมลภาวะต่อสิ่งแวดล้อม หรือเป็นอันตรายต่อชีวิตมนุษย์ เป็นต้น

การประเมินผลเทคโนโลยี

การตัดสินใจเลือกใช้เทคโนโลยีใด ๆ ผู้ใช้ต้องศึกษาผลดีและผลเสียของเทคโนโลยีนั้น ๆ และพิจารณาว่า ผลเสียที่จะเกิดขึ้นสามารถควบคุมหรือป้องกันได้ หากประโยชน์ของเทคโนโลยีนั้นคุ้มค่าและมากกว่าผลเสีย จึงตัดสินใจนำมาใช้ประโยชน์ได้

             สิ่งที่ควรพิจารณาในการเลือกใช้เทคโนโลยี

  1. ค่านิยมที่เกิดขึ้นจากการใช้เทคโนโลยี
  2. ผลของเทคโนโลยีต่อสิ่งแวดล้อม ประชากรในสังคม สถาบันและหน่วยงานต่าง ๆ
  3. ผลกระทบเทคโนโลยีต่อเศรษฐกิจ

นอกจากคำนึงถึงผลกระทบของเทคโนโลยีแล้ว การเลือกใช้ควรพิจารณาถึงความเหมาะสมกับสังคม ดังต่อไปนี้
1. ความรู้ทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีในชุมชน
2. ระบบนิเวศของชุมชน
3. ความสิ้นเปลืองทรัพยากรของท้องถิ่น หากนำเทคโนโลยีมาใช้
4. ความต้องการและความสามารถในการพัฒนาเทคโนโลยีของชุมชน
5. เทคโนโลยีต้องสอดคล้องกับวัฒนธรรม ศีลธรรมและสิ่งแวดล้อมของชุมชน

 

ที่มา : http://mathayom.brr.ac.th/~naruamol/TypeOfTechno.html

 

ใส่ความเห็น