ใบความรู้ เรื่อง หลักการทำโครงงาน

ความหมายของโครงงาน

โครงงาน (Project Approach) คือ กิจกรรมที่เปิดโอกาสให้ ผู้เรียนได้ทาการศึกษาค้นคว้าและฝึกปฏิบัติด้วยตนเองตามความสามารถ ความถนัด และความสนใจ โดยอาศัยกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ หรือกระบวนการอื่นๆ ไปใช้ในการศึกษาหาคาตอบ โดยมีครูผู้สอนคอยกระตุ้นแนะนาและให้คาปรึกษาแก่ผู้เรียนอย่างใกล้ชิด ตั้งแต่การเลือกหัวข้อที่จะศึกษา ค้นคว้า ดาเนินงานตามแผน กำหนดขั้นตอนการดาเนินงานและการนาเสนอผลงาน ซึ่งอาจทาเป็นบุคคลหรือเป็นกลุ่ม โครงงาน คือ การศึกษาค้นคว้าเกี่ยวกับสิ่งใดสิ่งหนึ่ง หรือหลายๆสิ่งที่อยากรู้คาตอบให้ลึกซึ้ง หรือเรียนรู้ในเรื่องนั้นๆให้มากขึ้น โดยใช้กระบวนการ วิธีการที่ศึกษาอย่างมีระบบ เป็นขั้นตอน มีการวางแผนในการศึกษาอย่างละเอียด ปฏิบัติงานตามแผนที่วางไว้ จนได้ข้อสรุปหรือผลสรุปที่เป็นคำตอบในเรื่องนั้นๆ

หลักการทำโครงงาน

 เน้นการแสวงหาความรู้ด้วยตนเอง

 ผู้เรียนเป็นผู้วางแผนในการศึกษาค้นคว้าเอง

 ลงมือปฏิบัติเอง

 นาเสนอโครงงานเอง

 ร่วมกำหนดแนวทางวัดผลและประเมินผล

จุดมุ่งหมายในการทำโครงงาน

 เพื่อให้ผู้เรียนได้ศึกษาข้อมูลจากแหล่งความรู้ต่าง ๆ ด้วยตนเอง

 เพื่อให้ผู้เรียนได้แสดงออกซึ่งความคิดริเริ่มสร้างสรรค์

 เพื่อให้ผู้เรียนเกิดคุณลักษณะที่พึงประสงค์ เช่น รู้จักทางานร่วมกับบุคคลอื่น มีความเชื่อมั่นในตนเอง มีความรับผิดชอบฯ

 เพื่อให้ผู้เรียนใช้ความรู้และประสบการณ์เลือกทาโครงงานตามความสนใจ

ประเภทโครงงาน
โครงงานแบ่งออกเป็น 2 ประเภท ได้แก่
1. โครงงานตามสาระการเรียนรู้ เป็นการใช้บูรณการร่วมกับการเรียนรู้ นำทักษะและความรู้มาเป็นพื้นฐานในการกำหนดโครงงานและปฏิบัติ
2. โครงงานตามความสนใจ เป็นโครงงานที่ผู้เรียนกำหนดขั้นตอน ความถนัด ความสนใจ ความต้องการ โดยใช้ทักษะความรู้ จากกลุ่มสาระการเรียนรู้ต่างๆมาบูรณการเป็นโครงงานและปฏิบัติ สามารถแบ่งได้ 4 รูปแบบ ตามวัตถุประสงค์
2.1 โครงงานที่เป็นการสำรวจ รวบรวมข้อมูล
เป็นโครงงานที่มีวัตถุประสงค์ในการรวบรวมข้อมูล เรื่องใดเรื่องหนึ่ง แล้วนาข้อมูลนั้นมาจำแนกเป็นหมวดหมู่ ในรูปแบบที่เหมาะสม ข้อมูลที่ได้จะนาไปปรับปรุงพัฒนาผลงาน ส่งเสริมผลผลิตให้มีคุณภาพดียิ่งขึ้น ข้อมูลดังกล่าว อาจมีผู้จัดทาขึ้นแล้ว แต่มีการเปลี่ยนแปลง จึงต้องมีการจัดทาใหม่เพื่อให้มีความทันสมัย สอดคล้องกับความต้องการของผู้ศึกษาโครงงาน โดยใช้วิธีการเก็บข้อมูลด้วย แบบสอบถาม แบบสัมภาษณ์ แบบบันทึก เช่น

 การสำรวจแหล่งเรียนรู้ในชุมชน

 การสำรวจงานบริการและสถานประกอบการในท้องถิ่น
2.2 โครงงานที่เป็นการศึกษาค้นคว้า ทดลอง
เป็นโครงงานที่มีวัตถุประสงค์ เพื่อการศึกษาเรื่องใดเรื่องหนึ่งโดยเฉพาะ โดยศึกษาหลักการและออกแบบการค้นคว้า ในรูปแบบการทดลองเพื่อยืนยันหลักการ ทฤษฎี เพื่อศึกษาหาแนวทางในการเพิ่มคุณค่า และการใช้ประโยชน์ให้มากขึ้น เช่น

 การปลูกพืชโดยไม่ใช้สารเคมี

 การทำขนมอบชนิดต่าง ๆ โดยใช้วัสดุในท้องถิ่น

 การควบคุมการเจริญเติบโตของต้นไม้ประเภทเถา

 การศึกษาสูตรเครื่องดื่มที่ผลิตจากธัญพืช

2.3 โครงงานที่เป็นการศึกษาทฤษฎี หลักการ หรือแนวคิดใหม่ ๆ ในการพัฒนาผลงาน
เป็นโครงงานที่มีวัตถุประสงค์เพื่อเสนอความรู้ หรือหลักการใหม่ๆ เกี่ยวกับเรื่องใดเรื่องหนึ่งที่ยังไม่มีใครเคยคิด หรือคิดขัดแย้ง หรือขยายจากของเดิมที่มีอยู่ จากเนื้อหาวิชาการ หลักการ ทฤษฎีต่าง ๆ นามาปรับปรุง พัฒนา ให้สอดคล้องมีความชัดเจน มีผลงานที่เป็นรูปธรรม ซึ่งต้องผ่านการพิสูจน์อย่างมีหลักการและเชื่อถือได้ เช่น

 การใช้สมุนไพรในการปราบศัตรูพืช

 การใช้พลังงานแสงอาทิตย์ในการถนอมอาหาร และปรุงอาหาร

 เกษตรแบบผสมผสาน

 เทคนิคการแก้โจทย์ปัญหา

2.4 โครงงานที่เป็นการสร้างประดิษฐ์ คิดค้น
เป็นโครงงานที่มีวัตถุประสงค์ คือ การนาความรู้ทฤษฎี หลักการ มาประยุกต์ใช้ โดยประดิษฐ์เป็นเครื่องมือ เครื่องใช้ต่างๆ เพื่อประโยชน์ต่างๆ หรืออาจเป็นการสร้างสรรค์สิ่งประดิษฐ์ขึ้นมาใหม่ หรือปรับปรุงของเดิมให้ดีขึ้นใช้ประโยชน์ได้มากยิ่งขึ้น เช่น

 การประดิษฐ์เครื่องควบคุมการรดน้ำ

 การประดิษฐ์เครื่องรับวิทยุ

 การประดิษฐ์ของชำร่วย

 การออกแบบเสื้อผ้า

ขั้นตอนการทำโครงงานการทำโครงงานมีขั้นตอนการปฏิบัติ ดังนี้

1. การคิดและการเลือกหัวเรื่อง  ผู้เรียนจะต้องคิด   และเลือกหัวเรื่องของโครงงานด้วยตนเองว่าอยากจะศึกษาอะไร ทำไมจึงอยากศึกษา   หัวเรื่องของโครงงานมักจะได้มาจากปัญหา   คำถามหรือความอยากรู้อยากเห็นเกี่ยวกับเรื่องต่างๆ ของผู้เรียนเอง   หัวเรื่องของโครงงานควรเฉพาะเจาะจงและชัดเจน   เมื่อใครได้อ่านชื่อเรื่องแล้วควรเข้าใจและรู้เรื่องว่าโครงงานนี้ทำจากอะไร   การกำหนดหัวเรื่องของโครงงานนั้นมีแหล่งที่จะช่วยกระตุ้นให้เกิดความคิดและความสนใจหลายแหล่งด้วยกัน   เช่น จากการอ่านหนังสือ เอกสาร บทความ การเยี่ยมชมสถานที่ต่างๆ   การฟังบรรยายทางวิชาการ การเข้าชมนิทรรศการหรืองานประกวดโครงงานทางวิทยาศาสตร์   การสนทนากับบุคคลต่างๆ หรือจาการสังเกตปรากฏการณ์ต่างๆ รอบตัว เป็นต้น นอกจากนี้   ควรคำนึงถึงประเด็นต่อไปนี้

– ความเหมาะสมของระดับความรู้   ความสามารถของผู้เรียน
– วัสดุ อุปกรณ์   ที่ใช้
– งบประมาณ
– ระยะเวลา
– ความปลอดภัย
– แหล่งความรู้

2.  การวางแผน

การวางแผนการทำโครงงาน   จะรวมถึงการเขียนเค้าโครงของโครงงาน ซึ่งต้องมีการวางแผนไว้ล่วงหน้า   เพื่อให้การดำเนินการเป็นไปอย่างรัดกุมและรอบคอบ ไม่สับสน   แล้วนำเสนอต่อผู้สอนหรือครูที่ปรึกษาเพื่อขอความเห็นชอบก่อนดำเนินการขั้นต่อไป

การเขียนเค้าโครงของโครงงาน   โดยทั่วไป เขียนเพื่อแสดงแนวคิด แผนงาน และขั้นตอนการทำโครงงาน   ซึ่งควรประกอบด้วยหัวข้อต่อไปนี้

๑) ชื่อโครงงาน   ควรเป็นข้อความที่กะทัดรัด ชัดเจน สื่อความหมายได้ตรง
๒)   ชื่อผู้ทำโครงงาน
๓)   ชื่อที่ปรึกษาโครงงาน

๔) หลักการและเหตุผลของโครงงาน   เป็นการอธิบายว่าเหตุใดจึงเลือกทำโครงงานเรื่องนี้ มีความสำคัญอย่างไร   มีหลักการหรือทฤษฎีอะไรที่เกี่ยวข้อง   เรื่องที่ทำเป็นเรื่องใหม่หรือมีผู้อื่นได้ศึกษาค้นคว้าเรื่องนี้ไว้บ้างแล้ว   ถ้ามีได้ผลอย่างไร เรื่องที่ทำได้ขยายเพิ่มเติม ปรับปรุงจากเรื่องที่ผู้อื่นทำไว้อย่างไร   หรือเป็นการทำซ้ำเพื่อตรวจสอบผล

๕) จุดมุ่งหมายหรือวัตถุประสงค์ควรมีความเฉพาะเจาะจง   และสามารถวัดได้ เป็นการบอกขอบเขตของงานที่จะทำได้ชัดเจนขึ้น

๖) สมมติฐานของการศึกษาค้นคว้า (ถ้ามี) สมมติฐานเป็นคำตอบหรือคำอธิบายที่คาดไว้ล่วงหน้า   ซึ่งอาจจะถูกหรือไม่ก็ได้   การเขียนสมมติฐานควรมีเหตุมีผลมีทฤษฎีหรือหลักการรองรับ และที่สำคัญ คือ   เป็นข้อความที่มองเห็นแนวทางในการดำเนินการทดสอบได้   นอกจากนี้ควรมีความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรอิสระและตัวแปรตามด้วย

๗) วิธีดำเนินงานและขั้นตอนการดำเนินงาน จะต้องอธิบายว่า   จะออกแบบการทดลองอะไรอย่างไร   จะเก็บข้อมูลอะไรบ้างรวมทั้งระบุวัสดุอุปกรณ์ที่จำเป็นต้องใช้ มีอะไรบ้าง

๘) แผนปฏิบัติงาน   อธิบายเกี่ยวกับกำหนดเวลาตั้งแต่เริ่มต้นจนเสร็จสิ้นการดำเนินงานในแต่ละขั้นตอน

๙) ผลที่คาดว่าจะได้รับ
๑๐)   เอกสารอ้างอิง

3. การดำเนินงาน

เมื่อที่ปรึกษาโครงงานให้ความเห็นชอบเค้าโครงของโครงงานแล้ว   ต่อไปก็เป็นขั้นลงมือปฏิบัติงานตามขั้นตอนที่ระบุไว้   ผู้เรียนต้องพยายามทำตามแผนงานที่วางไว้ เตรียมวัสดุอุปกรณ์และสถานที่ให้พร้อมปฏิบัติงานด้วยความละเอียดรอบคอบ   คำนึงถึงความประหยัดและปลอดภัยในการทำงาน ตลอดจนการบันทึกข้อมูลต่างๆ   ว่าได้ทำอะไรไปบ้าง ได้ผลอย่างไร มีปัญหาและข้อคิดเห็นอย่างไร   พยายามบันทึกให้เป็นระเบียบและครบถ้วน

 4. การเขียนรายงาน

การเขียนรายงานเกี่ยวกับโครงงาน   เป็นวิธีสื่อความหมายวิธีหนึ่งที่จะให้ผู้อื่นได้เข้าใจถึงแนวคิด   วิธีการดำเนินงาน ผลที่ได้ ตลอดจนข้อสรุปและข้อเสนอแนะต่างๆ   ที่เกี่ยวกับโครงงานนั้น การเขียนโครงงานควรใช้ภาษาที่อ่านแล้วเข้าใจง่าย   ชัดเจนและครอบคลุมประเด็นสำคัญๆ ทั้งหมดของโครงงาน
5.  การนำเสนอผลงาน

การนำเสนอผลงาน   เป็นขั้นตอนสุดท้ายของการทำโครงงานและเข้าใจถึงผลงานนั้น   การนำเสนอผลงานอาจทำได้หลายรูปแบบ ขึ้นอยู่กับความเหมาะสมต่อประเภทของโครงงาน   เนื้อหา เวลา ระดับของผู้เรียน เช่น การแสดงบทบาทสมมติ การเล่าเรื่อง   การเขียนรายงาน สถานการณ์จำลอง การสาธิต การจัดนิทรรศการ   ซึ่งอาจมีทั้งการจัดแสดงและการอธิบายด้วยคำพูด หรือการรายงานปากเปล่า การบรรยาย   สิ่งสำคัญคือ พยายามทำให้การแสดงผลงานนั้นดึงดูดความสนใจของผู้ชม มีความชัดเจน   เข้าใจง่าย และมีความถูกต้องของเนื้อหา

การเขียนรายงานโครงงาน

การเขียนรายงานโครงงานเป็นรูปแบบหนึ่งของการนำเสนอผลงานของโครงงานที่ผู้เรียนได้ศึกษาค้นคว้าตั้งแต่ต้นจนจบ   การกำหนดหัวข้อในการเขียนรายงานโครงงานอาจไม่ระบุตายตัวเหมือนกันทุกโครงงาน   ส่วนประกอบของหัวข้อในรายงานต้องเหมาะสมกับประเภทของโครงงานและระดับชั้นของผู้เรียน   องค์ประกอบของการเขียนรายงานโครงงาน แบ่งกว้างๆ เป็น ๓ ส่วน ดังนี้

1. ส่วนปกและส่วนต้น ส่วนปกและส่วนต้น ประกอบด้วย
1) ชื่อโครงงาน
2)   ชื่อผู้ทำโครงงาน ชั้น โรงเรียน และวันเดือนปีที่จัดทำ
3)   ชื่ออาจารย์ที่ปรึกษา
4) คำนำ
5) สารบัญ
6) สารบัญตาราง   หรือภาพประกอบ (ถ้ามี)

7)   บทคัดย่อสั้นๆ ที่บอกเค้าโครงอย่างย่อๆ ซึ่งประกอบด้วย เรื่อง วัตถุประสงค์   วิธีการศึกษา ระยะเวลา และสรุปผล

8) กิตติกรรมประกาศ   เพื่อแสดงความขอบคุณบุคคล หรือหน่วยงานที่ให้ความช่วยเหลือหรือมีส่วนเกี่ยวข้อง

2. ส่วนเนื้อเรื่อง
ส่วนเนื้อเรื่อง   ประกอบด้วย
1) บทนำ   บอกความเป็นมา ความสำคัญของโครงงาน บอกเหตุผล หรือเหตุจูงใจในการเลือกหัวข้อโครงงาน
2)   วัตถุประสงค์ของโครงงาน
3)   สมมติฐานของการศึกษาค้นคว้า

4) การดำเนินงาน อาจเขียนเป็นตาราง   แผนผังโครงงานเพื่อให้การดำเนินงานเป็นไปตามหัวข้อเรื่อง   ตรงตามวัตถุประสงค์ของโครงงาน และพิสูจน์คำตอบ (สมมติฐาน) ตามประเด็นที่กำหนด   ดังตัวอย่างการเขียนแผนผังโครงงานต่อไปนี้

ในแผนผังโครงงานทำให้เห็นระบบการทำงานอย่างมีเป้าหมาย   มีการวางแผนการทำงาน จะเห็นได้ว่าสิ่งที่ต้องการทราบ คือ หัวข้อย่อย   หรือคำถามย่อยของหัวข้อโครงงาน ถ้ามีมาก ๑ ข้อ ก็จะเรียงลำดับทีละหัวข้อ   พร้อมทั้งบอกสมมติฐาน วิธีศึกษา และแหล่งศึกษาค้นคว้าตามแผนผังให้ครบทุกข้อ    สิ่งที่ต้องการทราบ สมมติฐาน  วิธีการศึกษา แหล่งศึกษา/แหล่งข้อมูล   หัวข้อย่อยจากหัวข้อเรื่องของโครงงานที่ต้องการหาคำตอบ การตอบคำถามล่วงหน้า   ค้นคว้า สอบถาม สัมภาษณ์ สังเกต ศึกษาโดยการดู-ฟัง จากสื่อชนิดต่างๆ – เอกสาร   หนังสือ – สถานที่ บุคคล

5) สรุปผลการศึกษา   เป็นการอธิบายคำตอบที่ได้จากการศึกษาค้นคว้า ตามหัวข้อย่อยที่ต้องการทราบ   ว่าเป็นไปตามสมมติฐานหรือไม่

6) อภิปรายผล บอกประโยชน์ หรือคุณค่าของผลงานที่ได้   และบอกข้อจำกัดหรือปัญหา อุปสรรค (ถ้ามี)   พร้อมทั้งบอกข้อเสนอแนะในการศึกษาค้นคว้า โครงงานลักษณะใกล้เคียงกัน

3. ส่วนท้าย
ส่วนท้าย   ประกอบด้วย

1) บรรณานุกรม หรือ เอกสารอ้างอิง   หรือเอกสารที่ใช้ค้นคว้า ซึ่งมีหลายประเภท เช่น หนังสือ ตำรา บทความ หรือคอลัมน์   ซึ่งจะมีวิธีการเขียนบรรณานุกรมต่างกัน เช่น
หนังสือ ชื่อ   นามสกุล. ชื่อหนังสือ. สถานที่พิมพ์ : สำนักพิมพ์, ปีที่พิมพ์
บทความในวารสาร   ชื่อผู้เขียน “ชื่อบทความ,” ชื่อวารสาร.   ปีที่หรือเล่มที่ : หน้า ;วัน เดือน ปี.
คอลัมน์จากหนังสือพิมพ์   ชื่อผู้เขียน “ชื่อคอลัมน์ : ชื่อเรื่องในคอลัมน์”   ชื่อหนังสือพิมพ์.วัน เดือน ปี. หน้า.
2) ภาคผนวก เช่น   โครงร่างโครงงาน ภาพกิจกรรม แบบสอบถาม บทสัมภาษณ์

ที่มาจาก : http://www.banprak-nfe.com/webboard/index.php?topic=24.0

ใส่ความเห็น