ใบความรู้ที่ 4 เรื่อง ภาพสามมิติ

ปัจจุบันมีการออกแบบสามมิติในหลายสาขางาน ไม่เว้นแม้กระทั่งบนหน้าจอคอมพิวเตอร์ ซึ่งในอดีตเราจะพบภาพสามมิติบนหน้าจอภาพยนตร์หรือโทรทัศน์เท่านั้นส่วนงานสามมิติที่จับต้องได้ก็อาจนึกถึงเพียงงานประติมากรรม สถาปัตยกรรม อุตสาหกรรมศิลป์ ประยุกต์ ศิลป์ หรือหัตถศิลป์เท่านั้น อย่างไรก็ตามพื้นฐานทั้งหมดไม่ว่าจะเป็นงานออกแบบสองมิติหรืองานออกแบบสามมิติในศิลปะแทบทุกสาขางาน ย่อมต้องใช้ทัศนธาตุและหลักการออกแบบเป็นแนวทางทั้งสิ้น

 

ความหมายของงานออกแบบสามมิติ

งานสามมิติ หมายถึง การจัดปริมาตรที่เป็นจริงในที่ว่างด้วยองค์ประกอบ พลาสติก คือ รูปทรง เส้น ระนาบ ที่ว่าง สี และผิวสัมผัส ฯลฯ ให้มีความเคลื่อนไหว และจัดให้องค์ประกอบเหล่านี้มีความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน (เลอสม สถาปิตานนท์. 2540: 140)

มิติมีความหมายว่า การวัดขนาดต่างๆ เช่น ความกว้าง ความยาว หรือความสูง

ตรงกับคำในภาษาอังกฤษว่า Dimension

การวัดเฉพาะความยาวเรียกว่า First dimension

การวัดเฉพาะความกว้างเรียกว่า Second dimension

การวัดเฉพาะความสูงหรือความหนาเรียกว่า Third dimension

แต่การวัดทั้งความยาว ความกว้าง และความสูงหรือหนารวมเรียกว่า Three dimension หรือ 3 มิติ

ความหมายโดยทั่วไปของคำว่า 3  มิติ จึงสามารถครอบคลุมไปถึงวัตถุสิ่งของต่างๆ ที่มีความยาว ความกว้าง และความสูงหรือความหนาด้วย เช่น คน สัตว์ สิ่งของ อาคารบ้านเรือน ฯลฯ

ในทางศิลปะ คำว่า 3 มิติตรงกับคำว่า ภาพลอยตัว (Round relief) ซึ่งหมายถึงภาพที่สามารถมองเห็นได้ทุกๆ ด้าน สามารถกินเนื้อที่ในอากาศและน้ำ ซึ่งก็ คืองานประติมากรรมนั่นเอง (สุวรรณา ศรีเพ็ญ. 2537: 11)

ดังนั้นจึงพอสรุปได้ว่า งานออกแบบสามมิติหมายถึง การจัดองค์ประกอบทางศิลปะให้เป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน โดยมีมิติของการมองได้ทั้งความกว้าง ความยาว และความสูง หรือความหนา งานสามมิติกินบริเวณพื้นที่ว่างสามมิติ งานสามมิติมีทั้งเคลื่อนไหวได้ และเคลื่อนไหวไม่ได้

1.      ภาพสามมิติแบบทัศนียภาพ

ภาพทัศนียภาพ เป็นภาพเขียนแบบที่มีลักษณะเป็นจุดรวมสายตา เมื่อภาพมองดูภาพที่ใกล้ก็จะมีขนาดใหญ่ และเมื่อไกลออกไปจะมองเห็นเล็กลงไปรวมจุด ภาพเขียนแบบชนิดนี้นิยมใช้เขียนในงานสถาปัตยกรรม มีอยู่ 3 แบบ ดังนี้

1.1  ภาพทัศนียภาพแบบรวมสายตา 1 จุด เป็นภาพเขียนแบบที่มองเห็นด้านหน้าลักษณะตรงตั้งฉากและจะเห็นด้านอื่นเอียงลึกลงไปรวมจุดเพียงหนึ่งจุด มีอยู่ 3 ลักษณะคือ แนวระดับสายตา, แนวมุมสูง และแนวมุมต่ำ ดังแสดงในรูปที่ 1.1

1.2  ภาพทัศนียภาพแบบรวมสายตา 2 จุด เป็นภาพเขียนแบบที่มีจุดรวมสายตาอยู่ 2 จุด คือ จุดทางด้านซ้ายมือ (LVP) และจุดทางด้านขวามือ(RVP) ดังแสดงในรูปที่ 1.2

1.3  ภาพทัศนียภาพแบบรวมสายตา 3 จุด เป็นภาพเขียนแบบที่มีจุดรวมสายตาอยู่ 3 จุด คือจุดรวมสายตาทางด้านซ้ายมือ จุดรวมสายตาทางด้านขวามือ และจุดรวมสายตาทางด้านล่าง (หรือด้านบน) ดังแสดงในรูปที่ 1.3

2.       ภาพออบลิค เป็นภาพเขียนแบบที่ด้านหน้ามีลักษณะตั้งตรง ส่วนภาพด้านข้างและด้านบน

จะเอียงลึกลงไปเพียงด้านเดียว โดยมีขนาดที่ขนานเท่ากันตลอด โดยทั่วไปจะเป็นมุมเอียง 45 องศา มีอยู่ 2 แบบ ดังนี้

2.1 ภาพออบลิคแบบเต็มส่วน (Cavalier Drawing) เป็นแบบที่มีอัตราส่วนภาพระหว่างความกว้าง: ความสูง : ความลึกของภาพเป็น 1 : 1 : 1 ดังแสดงในรูปที่ 2.1

2.2 ภาพออบลิคแบบครึ่งส่วน
(Cabinet Drawing)
เป็นแบบที่มีอัตราส่วนภาพระหว่างความกว้าง:
ความสูง : ความลึก ของภาพเป็น 1 : 1 :0.5 ดังแสดงในรูปที่ 2.2

3.      ภาพสามมิติแบบแอกโซโนเมตริก

แอกโซโนเมตริก (Axonometric) คำว่าแอกซอน (Axon) มาจากคำว่า Axis ซึ่งแปลว่าแกนฉะนั้นภาพแอกโซโนเมตริจึงเป็นภาพสามมิติที่วัดจากแกนสามแกนมุมรวมกัน 360 องศา โดยมีแกนหลักทำมุมตั้งฉากกับแนวนอน ส่วนอีกสองแกนจะมีมุมเอียงลึกลงไปทั้งสองข้าง มีอยู่ 3 แบบดังนี้

3.1 ภาพไดเมตริก (Diametric Projection) เป็นภาพเขียนแบบสามมิติที่มีมุมรอบศูนย์กลางจำนวนสามแกน โดยสองแกนมุมเท่ากัน ส่วนแกนที่สามทำมุมต่างออกไป และแกนหลักต้องทำมุมตั้งฉากกับแนวนอน โดยมีรูปแบบอัตราส่วนความกว้าง ความสูง และความลึกของภาพอยู่หลายรูปแบบ ดังแสดงในรูป

3.2 ภาพไตรเมตริก
(Trimetric Projection)
เป็นภาพเขียนแบบสามมิติที่มีมุมรอบศูนย์กลางจำนวนสามแกน
โดยทั้งสามแกนทำมุมไม่เท่ากัน และแกนหลักต้องทำมุมตั้งฉากกับแนวนอน โดยมีสัดส่วนความกว้าง
ความสูง และความลึกของภาพ ดังแสดงในรูปที่ 3.2

3.3 ภาพไอโซเมตริก
(Isometric Projection)
เป็นภาพเขียนแบบสามมิติที่มีมุมรอบศูนย์กลางจำนวนสามแกน
โดยทั้งสามแกนทำมุม 120 องศาเท่ากัน และแกนหลักต้องทำมุมตั้งฉากกับแนวนอน
โดยมีสัดส่วนความกว้าง ความสูง และความลึกของภาพ ดังแสดงในรูปที่ 3.3

ใส่ความเห็น