ใบความรู้ที่ 1 เรื่อง ความรู้พื้นฐานของเทคโนโลยี   

 

ความหมายของเทคโนโลยี

เทคโนโลยี (Technology) หมายถึง เป็นการนำความรู้ ทักษะ และทรัพยากรมาสร้างสิ่งของเครื่องใช้หรือวิธีการโดยผานกระบวนการ เพื่อแก้ปัญหา สนองความต้องการ หรือเพิ่มความสามารถในการทำงานของมนุษย์

ความสำคัญของเทคโนโลยี

  1. เป็นพื้นฐานปัจจัยจำเป็นในการดำเนินชีวิตของมนุษย์
  2. เป็นปัจจัยหลักที่จะมีส่วนร่วมในการพัฒนา
  3. เป็นเรื่องราวของมนุษย์ และธรรมชาติ

ในช่วงสองทศวรรษที่ผ่านมา  วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีได้มีบทบาทสำคัญเพิ่มขึ้นจนสามารถสร้าง นวัตกรรม (Innovation) ซึ่งก็คือ การเรียนรู้ การผลิตและ การใช้ประโยชน์จากความคิดใหม่  ให้เกิดผลทั้งทางเศรษฐกิจ สังคม การเมือง  สิ่งแวดล้อม  และวัฒนธรรม  เทคโนโลยีทำให้สังคมโลกที่เรียบง่าย กลายเป็นสังคมที่มีการดำรงชีวิตที่สลับซับซ้อนมากขึ้น  ก่อให้เกิดกระแสแห่งความไร้พรมแดน  หรือกระแสโลกาภิวัฒน์ ที่เข้ามาสู่ทุกประเทศอย่างรวดเร็ว  จากความก้าวหน้าของเทคโนโลยีสารสนเทศ อันเป็นการผสมผสาน 4 ศาสตร์ เข้าด้วยกันได้แก่ อิเล็กทรอนิกส์  โทรคมนาคม  และข่าวสาร  (Electronics , Computer ,Telecommunication and Information หรือเรียกย่อ ๆ ว่า ECTI ) ทำให้สังคมโลกสามารถสื่อสารกันได้ทุกแห่งทั่วโลกอย่างรวดเร็ว  สามารถรับรู้ข่าวสาร ความเคลื่อนไหวต่าง  ๆ ได้พร้อมกัน  สามารถบริหารจัดการและตัดสินใจได้ทุกขณะเวลา การลงทุนค้าขาย และธุรกรรมการเงินได้อย่างรวดเร็ว ดังนั้นเทคโนโลยีกำลังทำโลกใบนี้ “เล็กลง” ทุกขณะ

วิวัฒนาการของเทคโนโลยี

           วิวัฒนาเทคโนโลยี (Evolution of Technology) เทคโนโลยีมีการเปลี่ยนแปลงหรือพัฒนาเมื่อเวลาผ่านไป ขั้นตอนการเปลี่ยนแปลงขึ้นอยู่กับกระบวนการทางวิวัฒนาการ (Evolution) ของระบบหรือเครื่องมือนั้น ๆ ดังนั้นคำว่า วิวัฒนาการของเทคโนโลยี (Evolution of Technology) จึงหมายถึง ความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นในระบบหรือเครื่องมือที่เกิดขึ้นอย่างซับซ้อนและมีการเปลี่ยนแปลงตามลำดับอย่างต่อเนื่องอันมีสาเหตุมาจากปัจจัยตาง ๆ

วิวัฒนาการสามารถแบ่งได้เป็น 5 ยุค

    • ยุคหิน (Stone age)
    • ยุคทองสัมฤทธิ์ ( Bronze age)
    • ยุคเหล็ก (Iron age)
    • ยุคการปฏิวัติอุตสาหกรรม(Industrial Revolution)
    • ยุคศตวรรษที่ 20 (The 20th Century)

ยุคที่ 1 ยุคหิน (Stone Age)

           เป็นยุคแรกของมนุษย์ที่มีการใช้เครื่องมือซึ่งทำมาจากหินทั้งสิ้น เช่นอาวุธที่ใช้ในการต่อสู้หรือเครื่องใช้ภายในครัวเรือนชนิดต่าง ๆ เครื่องมือต่าง ๆ เหล่านี้ทำมาจากหินก่อนที่จะมีการใช้โลหะในเวลาต่อมา

ลักษณะของยุคหินในทวีปต่าง ๆ 

  1. ทวีปอเมริกา ยุคหินในทวีปอเมริกา ได้เริ่มขึ้นเมื่อมีมนุษย์รุ่นแรก ๆ จากหลายถิ่นฐานได้เข้าไปอยู่อาศัยในทวีปอเมริกา หรือที่เรียกว่าโลกใหม่ (New world) เมื่อประมาณ 30,000 ปีที่แล้ว และยุคหินในทวีปอเมริกาได้สิ้นสุดลงเมื่อประมาณ 2,500 ปีก่อนคริสต์ศักราช
  2. ทวีปยุโรป ทวีปแอฟริกา และเอเชียเหนือ ยุคหินได้สิ้นสุดเมื่อประมาณ 4,000 ปีก่อนคริสต์ศักราช
  1. ทวีปเอเชีย (ตะวันออกกลางและเอเชียตะวันออกเฉียงใต้      ) ยุคหินได้สิ้นสุดเมื่อประมาณ 6,000 ปีก่อนคริสต์ศักราช

ระยะเวลาของยุคหินในแต่ละทวีปบนพื้นโลกมีความแตกต่างกันดังได้กล่าวมาแล้ว และระยะเวลาการเกิดของยุคหินในแต่ละที่ก็มีอิทธิพลโดยตรงต่อมนุษย์ด้วยเช่นกัน ดังนั้นจึงได้แบ่งยุคหินออกเป็น 3 ระยะ

  • ระยะพาลีโอลิค(Paleolitthic) หรือ Old Stone Age เป็นช่วงที่มีความยาวนานมากที่สุดของยุคหิน โดยได้เริ่มขึ้นเมื่อประมาณ 2 ล้านปีที่ผ่านมาแล้วและสิ้นสุดเมื่อยุคน้ำแข็งได้สิ้นสุดลงเมื่อประมาณ 13,000 ปีก่อนคริสต์ศักราช มนุษย์ยุคนี้ได้นำหินมาทำเป็นอาวุธ และได้พบหลักฐานว่ามนุษย์ถ้า โครแมนยอง (Cro-Magnon) ในทวีปยุโรปได้วาดภาพซึ่งแสดงถึงวัฒนธรรมความเป็นอยู่ต่าง ๆ ในช่วงปลายของระยะนี้
  • ระยะมีโซลิติค( Mesolithic) หรือ Middle Stone Age เป็นช่วงหลัง 13,000 ปี ก่อนคริสต์ศักราช ระยะนี้มีการเปลี่ยนแปลงมากขึ้นบนพื้นโลกส่งผลให้มีความอุดมสมบูรณ์ของอาหารเพิ่มมากขึ้น จึงมีเครื่องมือเครื่องใช้หลายชนิดที่ทำด้วยก้อนกรวด ก้อนหินที่ได้มาใช้ในชีวิตประจำวัน
  • ระยะนีโอลิติต (Neolithic ) ระยะนี้ได้เริ่มขึ้นเมื่อประมาณ 8,000ปีก่อนคริสต์ศักราช มนุษย์ยุคนี้ได้นำสังคมเกษตรกรมเข้ามาใช้ในชีวิตประจำวัน เครื่องมือที่ใช้ในครัวเรือนบางชนิดได้มีการเปลี่ยนแปลงและได้มีการเริ่มใช้โลหะบางชนิดใน ได้มีการเปลี่ยนแปลงและได้มีการเริ่มใช้โลหะบางชนิดในช่วงปลายของระยะนี้

 

ยุคที่ 2 ยุคทองสัมฤทธิ์ (Bronze age)

ลักษณะของยุคทองสัมฤทธิ์

ได้เริ่มขึ้นเมื่อประมาณ 3,000 ปี ก่อนคริสต์ศักราช และสิ้นสุดเมื่อประมาณ 1,000 ปีก่อนคริสต์ศักราช เชื่อกันว่าเครื่องไม้เครื่องมือที่ทำจากทองสำเริดได้เริ่มมีขึ้นครั้งแรกในแถบตะวันออกกลาง(Middle  East) และในทวีปยุโรปโดยเริ่มที่ประเทศกรีก ในทวีปเอเชียยุคทองสำริดได้เริ่มขึ้นทีประเทศจีนเมื่อประมาณ 1,800 ปีก่อนคริสต์ศักราช ส่วนในทวีปอเมริกายุคทองสำริดได้เริ่มขึ้นเมื่อ 1,000 ปี ก่อนคริสต์ศักราชในประเทศไทย  ได้มีการค้นพบเครื่องมือบ่างชนิดที่ทำด้วยทองสำริด เช่นใบหอก  ขวาน กำไล  และเบ็ดตกปลา เป็นต้น  ที่ตำบลบ้านเชียง  อำเภอหนองหาน  จังหวัดอุบลราชธานี และที่ตำบลแวง อำเภอสว่างแดนดิน จังหวัดสกลนคร  และจากการค้นพบวัตถุโบราณชนิดนี้ทำให้เชื่อว่ายุคทองสำริดเกิดขึ้นมานานแล้วประมาณ 4,500 ปี ก่อนคริสต์ศักราช

ยุคทองสำริดในตะวันออกกลางและแถบเมดิเตอร์เรเนียนแบ่งออกเป็น 3 ระยะดังนี้

  • ระยะต้น (Eaarly Bronze age) โลหะถูกนำมาใช้เป็นเครื่องมือในชีวิตประจำวันมากขึ้นซึ่งเป็นยุคของชูบาเรียน ซิวิไลเซซัน( Sumaian Civilzation)
  • ระยะกลาง (Middle Brone age) เป็นยุคของบาบิโลน (Babylon) ชาวบาบิโลนนอกจากรู้จักใช้โลหะแล้ว ยังเป็นผู้ให้กำเนิดวิธีการทำนายชะตาชีวิตมนุษย์โดยดูจากอิทธิพลของดวงดาวหรือโหราศาสตร์ โดยมีหลักฐานหินปักเขตรูปเทพเจ้าต่าง ๆ ที่ค้นพบ
  • ระยะสุดท้าย (Late Bronze age) เป็นยุคของไมโนแอน ครีท (Minoan crete) และ ไมซีนาเอน ครีซ(Mycenaean Creece)

 

ยุคที่ 3 ยุคเหล็ก (Iron age)

ลักษณะของยุคเหล็ก

เป็นยุคที่มีการพัฒนาเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยีมากขึ้นเรื่อยๆ  มีการนำเอาเหล็กเข้ามาใช้เป็นเครื่องมือ วัสดุ อุปกรณ์และอาวุธยุทโธปกรณ์แทนทองสัมฤทธิ์ซึ่งมีการใช้แพร่หลายกันในยุคทองสัมฤทธิ์

ยุคนี้ได้นำเหล็กมาใช้มากขึ้นเมื่อมีการนำเตาเผาซึ่งมีประสิทธิภาพสูงในการหลอมโลหะบางชนิด จนทำให้เหล็กกลายเป็นวัสดุที่สำคัญที่ใช้ในการผลิตวัสดุ อุปกรณ์  เครื่องใช้ต่าง  ๆ ของมนุษย์ในยุคเหล็ก โลหะเหล็กใช้กันแพร่หลายมากในช่วง 500 ปีก่อนคริสต์ศักราชในประเทศไทยมีการขุดพบเครื่องมือที่ทำจากเหล็กที่ บ้านดอนตาเพชร จังหวัดกาญจนบุรี และที่ตำบลโนนชัย อำเภอเมือง จังหวัดขอนแก่น

              การผลิตเหล็กกล้าในยุคแรก ๆ ทำได้ด้วยวิธีการนำธาตุคาร์บอนไปผสมกับธาตุเหล็กจากนั้นจะใช้ค้อนทุบในเตาถ่านหินที่มีอุณหภูมิสูงเพื่อทำเป็นอุปกรณ์ใช้สอยชนิดต่าง ๆ เช่นภาชนะเครื่องใช้สอยต่าง ๆ ในครัวเรือน นอกจากนี้ได้มีการนำซีเมนต์และคอนกรีตโดยมีเหล็กเป็นโครงสร้างมาก่อนสร้างตึกอาคารต่าง  ๆในยุคนี้อุตสาหกรรมการทำเหมืองแร่ได้มีการพัฒนามากขึ้นด้วย

ยุคที่ 4 ยุคการปฏิวัติอุตสาหกรรม (Industrial Revolution)

ลักษณะของยุคปฏิวัติอุตสาหกรรม

              เทคโนโลยีได้มีการพัฒนาเปลี่ยนแปลงมากขึ้นเรื่อย ๆ จากยุคต้น ๆ จนกลายเป็นยุคการปฏิวัติอุตสาหกรรม ซึ่งเริ่มต้นที่ประเทศอังกฤษ (Great Britain) ในช่วงระหว่างปี ค.ศ. 1790-1830 โดยการสนับสนุนของรัฐบาลอังกฤษ โดยในช่วง แรก ๆ ได้พัฒนาจากการเกษตรแบบขนบท จากนั้นกลายเป็นการเกษตรแบบเมือง และกลายเป็นอุตสาหกรรมการผลิตในที่สุด อุตสาหกรรมการผลิตแห่งแรกในประเทศอังกฤษได้เริ่มขึ้นในปี ค.ศ. 1740 ได้แก่อุตสาหกรรมสิ่งทอ ต่อมา James Watt และ Thomas Newcomen ได้ผลิตเครื่องจักรไอน้ำขึ้น ยุคอุตสาหกรรมได้แพร่หลายไปยังหลายประเทศในทวีปยุโรปในช่วงศตวรรษที่ 19 และขยายไปยังอเมริกา รัสเซีย และญี่ปุ่นในช่วงต้นศตวรรษที่ 20

ในยุคนี้เทคโนโลยีเจริญรุดหน้ามาก คือ เทคโนโลยีด้านพลังงาน (Energy Technology) มีการสร้างกังหันลมและใช้พลังงานไอน้ำสำหรับการทำงานของเครื่องจักรกล และการค้นพบความรู้เรื่องไฟฟ้าเป็นผลให้คิดค้นสร้างเครื่องกำเนิดไฟฟ้า ความรู้การถลุงแร่ทำให้เกิดโลหะวิทยาและเกิดเทคโนโลยีต่าง ๆ มากขึ้น นอกจากนี้ มีการสร้างโรงงานทอผ้าที่ใช้ความรู้ทางเคมีกับเรื่องสิ่งทอ ในตอนปลายของยุค วิศวกรโรงงานต่าง ๆ พัฒนาสิ่งก่อสร้างต่าง ๆ เช่น สะพาน เขื่อน ท่อ การสื่อสารและคมนาคม เช่น ก่อสร้างถนน ขุดคลอง กิจการรถไฟ การสื่อสาร ระบบการพิมพ์ การถ่ายภาพ โทรเลข โทรศัพท์ เทคโนโลยีในยุคนี้ก้าวหน้ารวดเร็วมาก ส่วนใหญ่เป็นเทคโนโลยีตามความต้องการของสังคมอุตสาหกรรมขณะนั้น

ยุคที่ 5 ยุคศตวรรษที่ 20 (The 20th Century)

 

 

ลักษณะของยุคศตวรรษที่ 20

              ยุคนี้ถือเป็นการเจริญเติบโตอย่างมากหรือยุคทองทางด้านเทคโนโลยีอย่างมากกระบวนการผลิตทางเทคโนโลยีได้เพิ่มมากขึ้นในช่วงศตวรรษที่ 20 กระบวนการต่าง ๆ ที่นำไปสู่การเจริญเติบโตแบ่งออกเป็น 4 ขั้นตอน

  1. ความเข้าใจพื้นฐาน (Basic information)
  2. การให้ความรู้ด้านเทคนิค (Technical education)
  3. การประเมินผลด้านเทคโนโลยี (Assessment of technology )
  4. อนาคตของเทคโนโลยี (Outlook)

ยุคนี้เริ่มจากการบิน การส่งจรวด ความรู้ทางอิเล็กทรอนิกส์และระเบิดปรมาณู การประดิษฐ์คิดค้นวัสดุใหม่ ๆ ซึงมีทั้งสร้างสรรค์และทำลายสังคม การพัฒนาวิทยาการการบินและเทคโนโลยีทางอวกาศก้าวหน้ามาก เกิดความรู้ทางวิทยาศาสตร์หลายแขนง ทำให้มีการคิดค้นสร้างเทคโนโลยีใหม่ ๆ อย่างไม่มีขีดจำกัด

วิวัฒนาการของเทคโนโลยีในประเทศไทย

เนื่องจากประเทศไทยมีอารยธรรมมาช้านาน และพัฒนาเทคโนโลยีด้านต่าง ๆ มากมาย อาจแบ่งตามสมัยต่าง ๆ ได้ดังนี้

1. สมัยสุโขทัย
2. สมัยอยุธยา
3. สมัยรัตนโกสินทร์
4. สมัยปัจจุบัน

สมัยสุโขทัย

– นำเครื่องปั้นดินเผาจากเมืองจีน และโปรดสร้างโรงงานขึ้นที่เมืองสวรรคโลก (1843 : พ่อขุนรามคำแหง)

สมัยอยุธยา

– เกิดเทคโนโลยี (ปืนใหญ่) สมุนไพรโบราณและยาโบราณ (2199-2231 : สมเด็จพระนารายณ์มหาราช)

สมัยรัตนโกสินทร์

– สอนศาสนาทั้งโรมันคาทอลิก และโปแตสแตนต์ รวมทั้งคณะมิชชันนารี มีการทำแลซ่อมนาฬิกา การต่อเรือ (2367-2394: รัชกาลที่ 3)

– สร้างเรือกลไฟพระที่นั่งขึ้นเป็นลำแรก (2394: รัชกาลที่ 4)

– วางสายโทรศัพท์ (2424: พระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว)

– เริ่มสร้างทางรถไฟสายแรกจากกรุงเทพ ฯ ถึงนครราชสีมา (2433: รัชกาลที่ 5)

–  ตั้งการประปาขึ้นเป็นครั้งแรกในประเทศไทย (2452: รัชกาลที่ 5)

–  สำรวจพบถ่านหินลิกไนต์ (2460: รัชกาลที่ 6)

–  เริ่มใช้โทรศัพท์อัตโนมัติ (2468: รัชกาลที่ 6)

–  มีการพัฒนาโทรทัศน์ขึ้น (2469: รัชกาลที่ 7)

–   ไทยใช้รถจักรดีเซลเป็นประเทศแรกในเอเชีย (2471: รัชกาลที่ 7)

–  นายเลื่อน พงษ์โสภณ ประดิษฐ์รถสามล้อ (2476: รัชกาลที่ 7)

–  ตั้งโรงเรียนช่างชลประทาน (2481: รัชกาลที่ 8)

สมัยปัจจุบัน

–  โรงงานไฟฟ้าพลังน้ำ (2491: รัชกาลที่ 9)

–  พลังงานปรมาณูเพื่อสันติ (2504: รัชกาลที่ 9)

–  นำเข้าคอมพิวเตอร์เครื่องแรก (2491: รัชกาลที่ 9)

–  ตั้งสถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (2515: รัชกาลที่ 9)

–  เริ่มอุตสาหกรรมคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคล (2518: รัชกาลที่ 9)

–  ตั้งสถานีรับสัญญาณภาคพื้นดินจากดาวเทียม (2524: รัชกาลที่ 9)

–  ตั้งศูนย์ BIOTECH (2526: รัชกาลที่ 9)

–  ตรา พ.ร.บ. สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีให้เป็นองค์กรอิสระ (2541: รัชกาล

ที่ 9)

–  โครงการต่าง ๆ ตามพระราชดำริ และโครงการหลวงต่าง ๆ เช่น โครงการฝนหลวง เกษตรทฤษฎีใหม่

โครงการไร่นาสวนผสม เป็นต้น (2491: รัชกาลที่ 9)

ที่มาจาก : http://mathayom.brr.ac.th/~naruamol/basic.html#Evolution_thai

ใส่ความเห็น